เมนู

จริงอยู่ เว้นอุทยะคือการเกิดขึ้นเสีย ความเกิดขึ้นแห่งธรรม
ทั้งหลาย ก็ย่อมไม่สำเร็จ, เพราะฉะนั้น แม้เมื่อไม่กล่าวว่า ปัญญา
ในการตามเห็นความเกิดขึ้นและความแปรไปแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย
ก็พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวแล้วเหมือนกัน.
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้บรรลุ
สัมมสนญาณ ตามที่กล่าวแล้วในลำดับว่า ก็การเห็นความเกิดขึ้น
ย่อมสำเร็จเพราะคำนั้นกำหนดตามพระบาลีว่า อุทยพฺพยานุปสฺสเน
ญาณํ
แปลว่า ปัญญาในการตามเห็นการเกิดและความดับไป ดังนี้
แล้ว ก็กำหนดการเกิดขึ้นและความดับไปในสังขารธรรมที่กำลังปรากฏ
ในสัมมสนญาณนั่นเอง แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสสนาเพื่อทำการ
กำหนดสังขารธรรมทั้งหลาย. เพราะว่าญาณนั้น ท่านเรียกว่า อุทยัพ-
พยานุปัสสนา เพราะตามเห็นความเกิดและความดับ.

7. อรรถกถาวิปัสสนาญาณุทเทส


ว่าด้วย วิปัสสนาญาณ


คำว่า อารมฺมณํ ปฏิสงฺขา ความว่า รู้ เห็น อารมณ์มี
รูปขันธ์เป็นต้น เพราะพิจารณาโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป.

คำว่า ภงฺคานุปสฺสเน ปญฺญา วิปสฺสเน ญาณํ ความว่า
ปัญญาใดรู้ในการตามเห็น ความดับ แห่งญาณที่เกิดขึ้นแล้วเพราะ
พิจารณาอารมณ์ของญาณนั้นโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป, ญาณ
นั้น ท่านกล่าวว่า วิปสฺสเน ญาณํ แปลว่า ญาณในวิปัสสนา.
บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ เห็น เห็นแจ้ง โดยประการต่าง ๆ.
ปาฐะว่า อารมฺมณปฏิสงฺขา ดังนี้ก็มี.
เนื้อความแห่งวิปัสสนาญาณนั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ
แตกดับไป เป็นวิปัสสนาญาณ
ท่านกล่าวไว้แล้วเพราะพิจารณา
อารมณ์โดยนัยตามที่กล่าวแล้วว่า การพิจารณา การรู้ การเห็นซึ่ง
อารมณ์. ก็วิปัสสนาย่อมถึงยอดแห่งภังคานุปัสนานั่นแหละ เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้เป็นพิเศษว่า วิปสฺสเน ญาณํ แปลว่า
ญาณในวิปัสสนา.
มัคคามัคคญาณทัสนะ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้อุทยัพ-
พยานุปัสสนาญาณ, เพราะฉะนั้น เมื่ออุทยัพพยานุปัสสนาสำเร็จแล้ว
มัคคามัคคญาณทัสนะนั้น ก็ย่อมสำเร็จด้วย คำนั้นท่านมิได้กล่าวไว้เลย
พึงทราบว่า ญาณมีวิปัสสนาเป็นยอด ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยภังคานุ-
ปัสสนาญาณ.

เมื่อสังขารทั้งหลายอันพระโยคีบุคคลผู้กำหนดซึ่งอุทยัพพยะ
อันตนเห็นแจ้งแล้วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาแล้ว ก็ปรากฏขึ้นโดยพลัน
ทีเดียว เมื่อญาณแก่กล้าอยู่ สติก็ละอุทยะความเกิด แล้วตั้งอยู่ในภังคะ
ความดับอย่างเดียว, ภังคานุปัสสนาญาณ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้
แก่พระโยคีบุคคลนั้น ผู้เห็นอยู่ว่า ธรรมดาสังขารธรรมทั้งหลาย
เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ก็ย่อมดับไปอย่างนี้

8. อรรถกถาอาทีนวญาณุทเทส


ว่าด้วย อาทีนวญาณ


คำว่า ภยตูปฏฺฐเน ปญฺญา มีความว่า ปัญญาในการปรากฏ
ขึ้นแห่งอุปปาทะความเกิด ปวัตตะความเป็นไป นิมิตเครื่องหมาย อายู-
หนาการประมวลมา และปฏิสนธิการเกิดในภพใหม่ โดยความเป็นภัย
คือในการเข้าไปยึดถือว่ามีภัยปรากฏอยู่เฉพาะหน้า โดยการประกอบ
ด้วยความเบียดเบียนอยู่เนือง ๆ. ย่อมปรากฏโดยความเป็นภัย ฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คืออารมณ์. ปัญญา ในภยตูปัฏฐานนั้น. อีก
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คือปัญญา เพราะอรรถว่า ปรากฏ
โดยความเป็นภัย คำนั้นย่อมเป็นคำอธิบาย อันท่านกล่าวแล้วว่า ภยตู-
ปัฏฐาน.